กระดูกพรุนในผู้สูงอายุ โรคอันตรายที่อาจมาแบบไม่รู้ตัว

5 views | 5 ชั่วโมงที่แล้ว

กระดูกพรุนในผู้สูงอายุ โรคอันตรายที่อาจมาแบบไม่รู้ตัว

กระดูกพรุน คืออะไร?

กระดูกพรุน เป็นภาวะที่กระดูกบางลงและเปราะมากขึ้นจนไปถึงขั้นแตกหักง่าย เพียงแค่ล้มเบาๆ หรือไอจามแรงๆ ก็สามารถทำให้กระดูกแตกหักได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุต้องระวังให้ดี เพราะโรคนี้มักไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดกระดูกหัก เพราะฉะนั้นการดูแลกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

กระดูกพรุนในผู้สูงอายุอันตรายแค่ไหน?

กระดูกพรุนในผู้สูงอายุ ถือเป็นเรื่องอันตรายมากกว่าที่หลายคนคิด เพราะเมื่อกระดูกเปราะบางลง โอกาสเกิดกระดูกหักจากอุบัติเหตุเล็กน้อยก็เพิ่มมากขึ้น เช่น สะดุดล้มเล็กน้อยหรือไอแรงๆ ก็ทำให้กระดูกเสียหายได้ โดยเฉพาะจุดสำคัญอย่าง กระดูกสะโพก, กระดูกสันหลัง และข้อมือ อาจทำให้ต้องนอนติดเตียงหลายเดือนและเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ในลำดับถัดมา

พฤติกรรมแบบนี้เสี่ยงกระดูกพรุน

รู้หรือไม่? พฤติกรรมแบบนี้เสี่ยงกระดูกพรุน

  • อายุที่มากขึ้น
    เมื่ออายุมากขึ้น ก็จะสูญเสียมวลและความหนาแน่นตามธรรมชาติ
  • ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
    โดยเฉพาะในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง ทำให้กระดูกเสื่อมเร็วขึ้น
  • ขาดแคลเซียมและวิตามินดี
    สารอาหารสำคัญในการสร้างและรักษาความแข็งแรงของกระดูก หากได้รับไม่เพียงพอ กระดูกจะบางลง
  • ไม่ออกกำลังกาย
    โดยเฉพาะกิจกรรมที่ช่วยเสริมแรงกระดูก เช่น เดินเร็ว, วิ่ง, หรือยกน้ำหนักเบาๆ
  • สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
    พฤติกรรมเหล่านี้เร่งให้กระดูกเสื่อมเร็วขึ้น
  • ยาบางชนิด
    เช่น สเตียรอยด์ หรือยารักษาโรคบางชนิด อาจส่งผลให้กระดูกบางลงเมื่อใช้ต่อเนื่อง
  • พันธุกรรม
    หากคนในครอบครัวมีประวัติกระดูกพรุน ก็มีโอกาสเป็นได้มากขึ้น

ภัยเงียบ… เมื่อคนที่คุณรักเป็นโรคกระดูกพรุน

ภัยเงียบ… เมื่อคนที่คุณรักเป็นโรคกระดูกพรุน

  • เสี่ยงกระดูกหักง่าย
    เพียงแค่สะดุดล้มหรือเคลื่อนไหวแรงๆ ก็อาจทำให้กระดูกหักได้ โดยเฉพาะกระดูกสะโพกหรือสันหลัง
  • สูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง
    กระดูกหักอาจทำให้เดินไม่ได้ ต้องพึ่งพาผู้อื่น หรือถึงขั้นนอนติดเตียง
  • เจ็บปวดเรื้อรังและเคลื่อนไหวลำบาก
    หากกระดูกสันหลังยุบ จะทำให้หลังค่อม ตัวเตี้ยลง และเจ็บเวลานั่ง, ยืน, หรือเดิน
  • เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียง
    หากกระดูกแตกหักจนถึงขั้นต้องพักฟื้นจนถึงนอนติดเตียง ก็เสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนติดเตียงได้ เช่น แผลกดทับ, ติดเชื้อ, หรือปอดอักเสบ เป็นต้น
  • ส่งผลต่อสภาพจิตใจ
    อาจทำให้สูญเสียความมั่นใจในหลายๆ ด้าน รวมไปถึงความวิตกกังวลในการใช้ชีวิตแต่ละวัน เช่น ความกลัวการล้ม, ความรู้สึกไร้ความสามารถ หรือโดดเดี่ยว อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า

วิธีป้องกันกระดูกพรุน สุขภาพแข็งแรง

  • เสริมแคลเซียม
    ดูแลเรื่องการรับประทานที่ช่วยเสริมแคลเซียม เช่น นม เต้าหู้ ปลาตัวเล็กที่กินได้ทั้งกระดูก และผักใบเขียวเข้ม เป็นต้น
  • รับวิตามินดีให้เพียงพอ
    เช่น การรับแสงแดดช่วงเช้าหรือเย็น (06:00-08:00 น. / 16:00-18:00 น.) วันละ 15-20 นาที หรืออาหารเสริมตามคำแนะนำแพทย์

วิธีป้องกันกระดูกพรุน สุขภาพแข็งแรง

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    โดยเฉพาะการออกแรงที่ถ่วงน้ำหนัก เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ รำไทเก๊ก หรือเต้นเบาๆ
  • หลีกเลี่ยงบุหรี่และแอลกอฮอล์
    เลี่ยงโดยพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดโรคกระดูกพรุน หรือกระดูกเสื่อมเร็วขึ้น
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์
    ทั้งผอมเกินไปหรืออ้วนเกินไปมีผลต่อความแข็งแรงของกระดูก
  • ตรวจวัดมวลกระดูกตามคำแนะนำ
    โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือผู้ที่มีความเสี่ยง

วิธีดูแลเมื่อเป็นโรคกระดูกพรุน

  • ออกกำลังกายเบาๆ อย่างสม่ำเสมอ
    เลือกกิจกรรมที่ช่วยพยุงน้ำหนัก เช่น รำมวยจีน, เดิน, หรือแอโรบิกเบาๆ ฝึกความต้านทานแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างปลอดภัย ควรเริ่มจากการออกกำลังกายแบบเบาๆ เพื่อกระตุ้นการสร้างมวลกระดูกและป้องกันการล้ม
  • รับแคลเซียมและวิตามินดีให้เพียงพอ
    แคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูก ส่วนวิตามินดีช่วยดูดซึมแคลเซียม ควรได้รับจากอาหาร เช่น นม, ผักใบเขียว, หรือรับประทานอาหารเสริมตามคำแนะนำของแพทย์
  • ป้องกันการลื่นล้มในบ้าน
    จัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย เช่น ติดราวจับในห้องน้ำ, ปูพื้นกันลื่น, และหลีกเลี่ยงพรมที่อาจทำให้สะดุดหรือลื่นได้
  • ใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
    แพทย์อาจจะให้ยาชะลอการสูญเสียมวลกระดูกหรือยากระตุ้นการสร้างกระดูก ซึ่งควรทานต่อเนื่องและไม่ขาดยา
  • ปรับอาหารให้เหมาะสม
    ลดโซเดียม คาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจลดการดูดซึมแคลเซียม
  • ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ
    โดยเฉพาะการวัดความหนาแน่นของกระดูก เพื่อติดตามผลการรักษาจากเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สรุป

โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่ไม่แสดงอาการชัดเจน แต่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างมาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่เสี่ยงกระดูกหักจากการล้มหรือเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย การป้องกันและดูแลสุขภาพกระดูกตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรือปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย หากดูแลอย่างถูกวิธี แม้จะเป็นผู้สูงวัย ก็ยังสามารถมีชีวิตที่แข็งแรง เคลื่อนไหวคล่องตัว

มายลักษณ์เนิร์สซิ่งโฮม ศูนย์ดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ เราเข้าใจและเอาใจใส่ผู้ป่วยและผู้สูงอายุทุกเคส เราพร้อมดูแลคนในครอบครัวคุณด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทีมผู้ดูแลที่มากประสบการณ์ เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนที่คุณรัก [ติดต่อสอบถาม]

 

facebook Mylucknursinghome Line Mylucknursinghome Line Mylucknursinghome

โทรหาเรา

ประชาอุทิศ 45: 080-8160115
พระราม 5 - ปิ่นเกล้า: 080-8165672
ฉุกเฉิน: 081-657-3328

อีเมลหาเรา

ที่อยู่

Myluck Nursing home (มายลักษณ์เนอร์สซิ่งโฮม)
สาขาประชาอุทิศ 45: 16 ซ.ประชาอุทิศ 45 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
สาขาพระราม 5 - ปิ่นเกล้า: 99/10 สินธราซอย 3 ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี 11130
https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=euq6746d