เช็กโภชนาการ อารหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

14 views | 8 วันที่แล้ว

เช็กโภชนาการ อารหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

โรคไตคืออะไร?

โรคไต คือ ภาวะที่ไตทำงานบกพร่องหรือเสื่อมลง เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น โรคเรื้อรัง, การติดเชื้อ, หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน 

สาเหตุของโรคไต

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • การใช้ยาเป็นเวลานาน
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะเรื้อรัง
  • นิ่วในไตหรือทางเดินปัสสาวะ
  • โรคทางพันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์
  • รับประทานอาหารเค็มหรือโปรตีนมากเกินไป

อาการของโรคไต

อาการของโรคไต

อาการของโรคไต มักจะมาแบบเงียบๆ โดยส่วนใหญ่ในระยะแรกๆ คนที่เป็นโรคไตจะไม่ค่อยรู้ตัวจนเมื่อมีอาการชัดเจน แต่เมื่อถึงตอนนั้นก็ไม่รู้เลยว่าโรคไตเรื้อรังไปถึงขั้นไหนแล้ว เพราะฉะนั้นคอยสังเกตตัวเองแล้วเช็กลิสต์ตามได้เลย หากมีอาการผิดปกติ 2 ข้อขึ้นไป แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ตัวบวม โดยเฉพาะที่หน้า ขา หรือเท้า
  • ปัสสาวะผิดปกติ เช่น เป็นฟอง สีเข้ม ปัสสาวะบ่อยหรือน้อย
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • คันตามตัวโดยไม่มีผื่น
  • ความดันโลหิตสูง
  • หายใจลำบาก หรือใจสั่น (ในระยะท้าย)
  • เวียนศีรษะ หรือมีภาวะสับสน (ในบางราย)

โรคไต มีทั้งหมดกี่ระยะ

  • ระยะที่ 1
    (มีภาวะไตผิดปกติ เช่น มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ แต่อัตราการกรองยังปกติ) eGFR มากกว่า 90
  • ระยะที่ 2
    (มีภาวะไตผิดปกติ เช่น มีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ อัตราการกรองลดลงเล็กน้อย) eGFR 60-90
  • ระยะที่ 3a
    (อัตราการกรองลดลงเล็กน้อยถึงปานกลาง) eGFR 45-59
  • ระยะที่ 3b
    (อัตราการกรองลดลงปานกลางถึงมาก) eGFR 30-44
  • ระยะที่ 4
    (อัตราการกรองลดลงมาก) eGFR 15-29
  • ระยะที่ 5
    (ไตวายระยะสุดท้าย) eGFR น้อยกว่า 15

หลักโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคไต

หลักโภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคไต เบื้องต้น

1. ควบคุมปริมาณโปรตีน 

  • เลือก โปรตีนคุณภาพดี เช่น ไข่ขาว ปลา เต้าหู้
  • หากล้างไตแล้ว อาจต้องเพิ่มโปรตีนตามคำแนะนำแพทย์

2. ลดโซเดียม (เกลือ)

3. จำกัดโพแทสเซียม 

  • หลีกเลี่ยงผลไม้ที่โพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย, มะละกอ, ลิ้นจี่, หรือน้ำส้ม 

4. ควบคุมฟอสฟอรัส

  • หลีกเลี่ยงอาหารอย่าง นม, ชีส, ไข่แดง, ถั่ว, หรือธัญพืชเต็มเมล็ด

5. จำกัดน้ำ (เฉพาะรายที่แพทย์แนะนำ)

6. เติมพลังงานเพียงพอ

  • เน้นอาหารให้พลังงาน เช่น ข้าว น้ำมันพืช น้ำตาลในปริมาณพอเหมาะ

โภชนาการอาหาร สำหรับผู้ป่วยโรคไต

ผู้ป่วยโรคไต ควรควบคุมการรับประทานอาหารเพื่อช่วยลดภาระการทำงานของไต และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสุขภาพเพิ่มเติม

1. โปรตีน

ควรได้รับโปรตีน 0.8 กรัม/กก. ของน้ำหนักตัวต่อวันและหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก เช่น

     1.1 โปรตีนจากสัตว์ 

  • เนื้อไก่ (ไม่มีกระดูกและหนัง), ปลาที่มีไขมันต่ำ เช่น แซลมอน, ทูน่า, กะพง และไข่ขาว

     1.2 โปรตีนจากพืช

  • ถั่วเหลือง, ถั่วเขียว, ถั่วแดง, ถั่วดำ, เมล็ดเจีย และเมล็ดแฟลกซ์

     1.3 โปรตีนจากนม

  • โยเกิร์ตธรรมชาติ (ไม่มีน้ำตาล), นมพร่องมันเนยหรือผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ

**ผู้ป่วยโรคไตที่อยู่ในขั้นล้างไต ควรเพิ่มการทานโปรตีนเป็น 1.2 กรัม/กก. ของน้ำหนักตัวต่อวัน

2. พลังงาน

ควรได้รับ 30-35 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กก./วัน ได้มาจากประเภทแป้งและไขมัน

     2.1 แป้ง

  • ข้าวกล้อง, ขนมปังโฮลเกรน, บุก (Konjac), โอ๊ต (ข้าวโอ๊ต) เป็นต้น

     2.3 ไขมัน

  • น้ำมันมะกอก, น้ำมันจากเมล็ดแฟลกซ์, อะโวคาโด, ปลาไขมันสูง, น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น 

3. น้ำดื่ม

ดื่มน้ำให้เท่ากับปริมาณปัสสาวะต่อวัน และเพิ่มอีก 500-700 มล. โดยนับรวมเครื่องดื่มชนิดอื่นและอาหารของเหลวด้วย

4. ไขมัน

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่แดง, เครื่องในสัตว์, หรือาหารที่ใส่กะทิ

5. เกลือแร่

ผู้ป่วยโรคไตต้องควบคุมอาหารที่มีเกลือแร่ (แร่ธาตุ) อย่างระมัดระวัง เนื่องจากการสะสมของแร่ธาตุบางชนิด เช่น โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส หรือโซเดียม สามารถเพิ่มภาระให้กับไต และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลวหรือกระดูกพรุน

     5.1 โซเดียม (ไม่ควรเกิน 2 กรัม/วัน)

ควรหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น อาหารสำเร็จรูป, ขนมขบเขี้ยว, ซุปสำเร็จรูป เพราะมีโซเดียมสูงมาก

     5.2 ฟอสฟอรัส

ควรลดอาหารจำพวกถั่ว, เนื้อสัตว์, ไข่แดง, เต้าหู้, กาแฟ เป็นต้น และควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนม,ชีส และเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เบคอน, ไส้กรอก เป็นต้น

     5.3 โพแทสเซียม

ควรหลีกเลี่ยง เช่น ทุเรียน, แคนตาลูป, มะขาม, กล้วย,มะม่วง, ผักใบเขียวบางชนิด เช่น ผักโขม เป็นต้น

เช็กโภชนาการ อารหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

สรุป 

โภชนาการสำหรับผู้ป่วยโรคไตนั้นสำคัญมาก เพราะช่วยบำรุงและควบคุมภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ การควบคุมอาหารและปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการสามารถช่วยให้ผู้ป่วยโรคไตรักษาสุขภาพได้ดีขึ้นและลดภาระไตได้อย่างมีประสิทธิภาพ มาใส่ใจเรื่องอาหารการทานเพื่อสุขภาพคนที่คุณรักกันนะคะ

[ติดต่อสอบถาม]

facebook Mylucknursinghome Line Mylucknursinghome Line Mylucknursinghome

โทรหาเรา

ประชาอุทิศ 45: 080-8160115
พระราม 5 - ปิ่นเกล้า: 080-8165672
ฉุกเฉิน: 081-657-3328

อีเมลหาเรา

ที่อยู่

Myluck Nursing home (มายลักษณ์เนอร์สซิ่งโฮม)
สาขาประชาอุทิศ 45: 16 ซ.ประชาอุทิศ 45 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
สาขาพระราม 5 - ปิ่นเกล้า: 99/10 สินธราซอย 3 ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี 11130
https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=euq6746d