โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุหลงๆลืมๆ ไม่ใช่เรื่องธรรมดา

934 views | 2 ปีที่แล้ว

โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุหลงๆลืมๆ ไม่ใช่เรื่องธรรมดา
              ภาวะสมองเสื่อม คือความถดถอยในการทำงานของสมอง ซึ่งส่วนมากสมองเสื่อมมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุวัย 65 ปี ขึ้นไป จัดว่าเป็นภาวะที่พบได้บ่อย ซึ่งความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อมจะเพิ่มมากขึ้นตามอายุ ซึ่งผู้ป่วยไม่ได้มีเพียงแค่ความบกพร่องในด้านความทรงจำเท่านั้น แต่จะรวมถึงด้านอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ การใช้ความคิด การตัดสินใจ ความเข้าใจสิ่งต่าง ๆ การเรียนรู้ การใช้ภาษา หรือการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ เป็นต้น
 

สัญญาณเตื่อนว่าคุณกำลังเข้าสู่สภาวะสมองเสื่อม

สัญญาณเตือน!! โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่จะเริ่มค่อยๆสังเกตุเห็นได้ ลูกหลานที่อยู่กับท่านควรสังเกตว่ามีอาการ แบบนี้เกิดขึ้นหรือไม่?

สัญญาณเตื่อนว่าคุณกำลังเข้าสู่สภาวะสมองเสื่อม

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสมองเสื่อม

ปัจจัยที่ทำให้เกิดสมองเสื่อม

  1. อายุความเสี่ยงในการเป็นสมองเสื่อมจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป
  2. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นสมองเสื่อม หากมีสมาชิกในครอบครัวที่เป็นสมองเสื่อม ก็จะทำให้มีความเสี่ยงที่สูงมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นสมองเสื่อมมีโอกาสเป็นได้เช่นกัน
  3. ความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง เกี่ยวข้องหรือมีปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำ แต่จะไม่รวมถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ในชีวิตประจำวัน โดยความบกพร่องดังกล่าวมีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดสมองเสื่อมได้
  4. ดาวน์ซินโดรม การพัฒนาเป็นโรคอัลไซเมอร์จะพบบ่อยในผู้ที่เป็นดาวน์ซินโดรมในวัยกลางคน
  5. พันธุกรรม ความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้สมองเสื่อมเกิดขึ้นได้จากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยแพทย์มักจะพบผู้ป่วยสมองเสื่อมประเภทนี้ที่มีอายุน้อยกว่า 50 ปี
 

การป้องกันสมองเสื่อม

        โดยส่วนใหญ่ สมองเสื่อมป้องกันได้ยากเพราะมักไม่ทราบสาเหตุ แต่สามารถลดโอกาสการเป็นสมองเสื่อมลงได้โดยดูแลสุขภาพโดยรวมให้มีความสมบูรณ์ดี ก็เป็นอีกทางที่จะช่วยป้องกันได้ ซึ่งมีแนวทางง่าย ๆ ดังนี้
 

การป้องกันสมองเสื่อม

  1. หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น การดื่มเหล้าจัด การรับประทานยาโดยไม่จำเป็น
  2. การฝึกฝนสมอง ได้แก่ การพยายามฝึกให้สมองได้คิดบ่อย ๆ เช่น อาจหนังสือ เขียนหนังสือบ่อย ๆ คิดเลข ดูเกมส์ตอบปัญหา ฝึกหัดการใช้อุปกรณ์ใหม่ ๆ เป็นต้น
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เช่น เดินเล่น , รำมวยจีน เป็นต้น
  4. การพูดคุย พบปะผู้อื่นบ่อย ๆ เช่น ไปวัด , ไปงานเลี้ยงต่าง ๆ หรือเข้าชมรมผู้สูงอายุ เป็นต้น
  5. ตรวจสุขภาพประจำปี หรือถ้ามีโรคประจำตัวอยู่เดิมก็ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ เช่น การตรวจหา ดูแลและรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น
  6. ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง ระวังการหกล้ม เป็นต้น
  7. พยายามมีสติในสิ่งต่างๆที่กำลังทำและฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา
  8. พยายามไม่คิดมาก ไม่เครียด หากิจกรรมต่างๆทำเพื่อคลายเครียด เนื่องจากความเครียดและอาการซึมเศร้าอาจทำให้จำอะไรได้ไม่ดี
             สมองเป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานทุกอย่างของร่างกาย คอยสั่งงาน เคลื่อนไหวต่างๆ แต่เมื่ออายุเริ่มมากขึ้น สมองก็เริ่มเสื่อมไปตามวัยและมีอีกหลายอย่างที่ทำให้เป็นโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุจึงยิ่งต้องคอยสังเกตอย่างใกล้ชิด mylucknursinghome ทางเรารับดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงผู้ป่วย มีทั้งแบบรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน ซึ่งมีกิจกรรม พร้อมกับสมุดบันทึกของแต่ละบุคคล ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอันดับ 1 ปี 2020

 

Social Share

โทรหาเรา

02-0019720 , 084-1612333 , 081-6573328

อีเมลหาเรา

ที่อยู่

Myluck Nursing home (มายลักษณ์เนอร์สซิ่งโฮม)
สาขาบางมด: 16 ซ.ประชาอุทิศ 45 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
สาขาบางกรวย: 99/10 สินธราซอย 3 ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี 11130
https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=euq6746d