สัญญาณเตือน!! ภาวะหัวใจล้มเหลวในผู้สูงอายุและการดูแลเบื้องต้น

ภาวะหัวใจล้มเหลวคืออะไร?
ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) คือ สภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ การทำงานที่ผิดปกติของหัวใจ อาจทำให้เกิดการสะสมของของเหลว ในปอด, ขา, หรือช่องท้อง จนเกิดอาการต่างๆ เช่น หายใจลำบาก, บวม, หรือเหนื่อยง่าย
สาเหตุการเกิดโรคหัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว
-
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease)
มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือด ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ดี
-
ความดันโลหิตสูง (Hypertension)
หากเป็นความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว และเป็นมานาน อาจทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นจนเสื่อมสภาพลงได้
-
โรคหัวใจวาย (Heart Attack)
การที่กล้ามเนื้อหัวใจตาย จากการขาดเลือด (Myocardial Infarction) จะทำให้ส่วนหนึ่งของหัวใจไม่สามารถทำงานได้เหมือนเดิม ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างเต็มที่ เป็นสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลว
-
โรคเบาหวาน (Diabetes)
โรคเบาหวานที่ไม่ได้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างดี ทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพลงได้ ซึ่งจะทำให้หัวใจทำงานได้ไม่เต็มที่ และอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้
เบาหวานนอกจากทำให้การไหลเวียนเลือดแย่ลง ยังทำให้เกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว
-
โรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (Cardiomyopathy)
กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมสภาพ และไม่สามารถหดตัวได้ดีตามปกติ โดยอาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส, พันธุกรรม หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา ซึ่งทำให้การสูบฉีดเลือดไม่เพียงพอและนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว
-
ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)
การเต้นของหัวใจผิดจังหวะ เช่น หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นช้าเกินไป จะทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้มีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวขึ้นได้
-
ภาวะอ้วน (Obesity)
การมีน้ำหนักตัวมากเกินไป หรือเกิดภาวะอ้วน ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือด ไปหล่อเลี้ยงร่างกายทั้งหมด ซึ่งเสี่ยงทำให้หัวใจเสื่อมสภาพและล้มเหลวได้ในที่สุด
-
การเสื่อมสภาพตามอายุ (Age-Related Degeneration)
เมื่ออายุมากขึ้น การเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อหัวใจ และการลดประสิทธิภาพในการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ทำให้หัวใจไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
-
การใช้สารเสพติดหรือยาบางประเภท
การใช้ ยาบางชนิด หรือ สารเสพติด เช่น แอลกอฮอล์ในปริมาณมาก, ยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงต่อหัวใจ หรือยาเคมีบำบัดที่ใช้รักษามะเร็ง อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
-
ภาวะขาดสารอาหาร (Malnutrition)
การขาดสารอาหารหรือโปรตีนในร่างกาย อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง และไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว
สัญญาณเตือน! ภาวะหัวใจล้มเหลวกำลังมาเยือน
- หอบเหนื่อย หรือเหนื่อยง่าย
- บวมที่ขา, ข้อเท้า หรือท้องบวม
- หายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะเวลานอน
- ไอ หรือมีเสียงหวีดขนาดหายใจ
- อ่อนเพลียและเหนื่อยล้า
- มีอาการเบื่ออาหารและคลื่นไส้
- หน้ามืดหรือเวียนศีรษะ
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ
วิธีดูแลผู้สูงอายุที่เป็นภาวะหัวใจล้มแล้ว เบื้องต้น
1. ควบคุมอาหาร
- ลดการทานเกลือ หรืออาหารที่มีโซเดียมสูง
- ควบคุมปริมาณน้ำตามแพทย์แนะนำ เพื่อป้องกันการคั่งของน้ำในร่างกาย
- เลือกอาหารที่ดีต่อหัวใจ ควรให้ผู้สูงอายุรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบหัวใจ เช่น ผักและผลไม้สด, ธัญพืช, ปลา, หรือเนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมัน
2. การทานยาและใช้ยาอย่างถูกต้อง
-
รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์
- ติดตามผลข้างเคียงของยา เช่น เวียนศีรษะ, ปวดท้อง หรือมีอาการบวมมากขึ้นหรือไม่ หากมีอาการข้างเคียงรุนแรงควรพบแพทย์ทันที
3. ควบคุมกิจกรรมที่ต้องใช้เเรง
- ให้ผู้สูงอายุพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะการนอนหลับในท่าที่ช่วยให้หายใจได้สะดวก เช่น การนอนยกศีรษะสูง
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่หนักเกินไป ควรให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมเบา ๆ เช่น การเดินหรือยืดเส้นยืดสายเบา ๆ ตามคำแนะนำของแพทย์
4. ตรวจวัดสัญญาณชีพอย่างสม่ำเสมอ
-
ตรวจวัดความดันโลหิต ควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย หากความดันโลหิตสูงหรือต่ำเกินไปควรติดต่อแพทย์ทันที
- ตรวจวัดน้ำหนัก การที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของน้ำหนักเป็นตัวบ่งชี้ถึงการคั่งของน้ำในร่างกาย
- การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ หากพบว่ามีการเต้นผิดจังหวะ ควรปรึกษาแพทย์
5. จัดการกับอาการบวม
-
ยกขาขึ้นเพื่อบรรเทาอาการบวม ควรยกขาขึ้นเหนือระดับหัวใจบ้างในระหว่างวันเพื่อช่วยระบายของเหลวที่คั่งในร่างกาย
- สวมถุงเท้าความดัน สามารถช่วยลดการบวมที่ขาและข้อเท้าได้
6. ดูแลด้านจิตใจและอารมณ์ของผู้สูงอายุ
- ให้ความสนับสนุนทางอารมณ์ ผู้สูงอายุที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว อาจรู้สึกวิตกกังวลหรือเครียดเกี่ยวกับสภาพของตนเอง ควรให้การสนับสนุนทางอารมณ์และคอยพูดคุยให้กำลังใจ
- กระตุ้นการทำกิจกรรมที่ช่วยลดความเครียด เช่น ฟังเพลง, ดูหนัง, หรือการทำสมาธิสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกดีขึ้น
7. คอยสังเกตอาการแทรกซ้อนและอาการที่รุนแรง
-
ติดตามอาการหายใจลำบาก หากพบว่าอาการหายใจลำบากแย่ลง หรือผู้สูงอายุรู้สึกหายใจไม่สะดวก ควรรีบพบแพทย์
- สังเกตอาการช็อกหรืออาการเจ็บหน้าอก หากมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงหรือชัก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
- การสังเกตอาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ หากหัวใจเต้นผิดปกติหรือเต้นเร็วเกินไป ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาที่เหมาะสม
วิธีป้องกันการเกิดโรคภาวะหัวใจล้มเหลว
- ควบคุมความดันโลหิต
- ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- ควบคุมระดับไขมันในเลือด
- รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
- การออกกำลังกายและการเคลื่อนไหวร่างกาย
- การตรวจสุขภาพประจำปี
- หลีกเลี่ยงความเครียด
- การรักษาโรคประจำตัวให้ดีอย่างต่อเนื่อง
- การหลีกเลี่ยงภาวะติดเชื้อในหัวใจ
ภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่เป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุมากที่สุด เกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ ทำให้เกิดสัญญาณอันตรายมากมายในร่างกาย หากไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีส่งผลทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
การดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุที่ตกอยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลวจึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากคนในครอบครัวหรือผู้ดูแลที่มีความเชี่ยวชาญ Myluck Nursing Home ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง สามารถช่วยดูแลคนที่คุณรักได้ตลอด 24 ชั่วโมงอย่างใกล้ชิด พร้อมแพทย์และบุคลากรที่มีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยด้วยความรักและความเข้าใจ ติดต่อสอบถาม @mylucknursinghome
บทความที่คุณอาจสนใจ

โทษของการกินน้ำตาล กินเพลินๆ เชือดนิ่มๆ

การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัด

อาการปวดเมื่อยในผู้สูงอายุที่ไม่ควรมองข้าม

การดูแลการขับถ่ายของผู้ป่วยติดเตียง

5 ปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยในวัยสูงอายุ
