วิธีให้อาหารทางสายยางของผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง? ที่ต้องเตรียม

1625 views | 9 เดือนที่แล้ว

วิธีให้อาหารทางสายยางของผู้ป่วยติดเตียง มีอะไรบ้าง? ที่ต้องเตรียม

เพราะอาหารคือแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย เราจึงควรรับประทานอาหารครบหมวดหมู่และมีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วย การรับประทานอาหารตามโภชนาการจะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เหมาะสม และหายจากการเจ็บป่วยได้ไวขึ้น ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทานรับประทานอาหารทางปากด้วยตัวเองได้ ทางการแพทย์ก็ได้มีวิธีให้อาหารทางสายยาง เพื่อให้ร่างกายยังได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการอยู่

วันนี้ Myluck Nursing Home เลยมีสาระน่ารู้เกี่ยวกับการให้อาหารทางสายยางผู้ป่วยติดเตียงมาฝากกัน

การให้อาหารทางสายยางมีกี่แบบ ?

  1. การให้อาหารทางสายยาง ผ่านทางจมูก

โดยใช้สายยางที่สามารถโค้งงอได้อย่างอิสระ สอดท่อผ่านรูจมูก ผ่านคอลงไปจนถึงกระเพาะอาหาร

  1. การให้อาหารทางสายยาง ผ่านทางปาก

วิธีนี้ จะเป็นการใส่สายยางผ่านทางปาก และให้อาหารเดินทางผ่านหลอดอาหารเข้าไปยังกระเพาะอาหารเอง

  1. การให้อาหารทางสายยาง ผ่านทางหน้าท้อง

เป็นการเจาะผ่านทางหน้าท้องของผู้ป่วย เพื่อต่อท่อสายยางเข้าไปยังกระเพาะอาหารของผู้ป่วยโดยตรง

อุปกรณ์ในการให้อาหารทางสายยาง มีอะไรบ้าง ?

  1. อาหารเหลว / อาหารปั่น หรืออาหารสำเร็จรูปของผู้ป่วย ตามที่แพทย์ได้แนะนำ
  2. กระบอกสำหรับใส่อาหาร เพื่อใช้ป้อนเข้าสู่สายยางให้อาหาร
  3. อุปกรณ์ทำความสะอาดฆ่าเชื้อ อย่างเช่น แอลกอฮอล์, สำลี เป็นต้น
  4. สบู่ทำความสะอาด ใช้ในการล้างมือก่อนทำการให้อาหารทางสายยาง
  5. สายยางให้อาหาร ที่มีมาตรฐาน แนะนำให้เลือกเกรดการแพทย์
  6. เครื่องให้อาหารทางสายยาง (ถ้าไม่มี ก็สามารถให้อาหารผ่านสายยางโดยการใช้มือได้)

 

การให้อาหารทางสายยาง

วิธีให้อาหารทางสายยางของผู้ป่วยติดเตียง

  1. เตรียมอาหาร สำหรับการให้อาหารทางสายยางของผู้ป่วยติดเตียง จะต้องใช้อาหารปั่น (สูตรเฉพาะสำหรับผู้ป่วย) ควรใช้อาหารเหลวที่เตรียมไว้ไม่เกิน 8 ชั่วโมง

  2. จัดท่าให้พร้อม สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ได้มีข้อห้ามทางการแพทย์หรือข้อห้ามจากแพทย์ สามารถจัดท่านอนเอน ให้ศีรษะผู้ป่วยอยู่สูงประมาณ 30-45 องศาได้ แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีเสมหะ ไม่สามารถเอาเสมหะออกเองได้ ควรให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่งตัวตรง หรือยกระดับเตียงให้ศีรษะสูงมากกว่า 30 องศา

  3. ประเมินอาการผู้ป่วย เช็กความพร้อมของผู้ป่วย ถ้าหากมีเสมหะมาก ให้ทำการดูดเสมหะเพื่อเคลียร์ทางเดินหายใจให้โล่งก่อนการให้อาหารทางสายยางทุกครั้ง

  4. ประเมินการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ฟังเสียงความเคลื่อนไหวของลำไส้ก่อนอาหาร และตรวจตำแหน่งของสายให้อาหารก่อนทำการให้อาหารทางสายยางทุกมื้อพร้อมตรวจสอบอาหารที่อยู่ในกระเพาะของผู้ป่วย โดยการใช้กระบอกดูดน้ำออกจากกระเพาะ ถ้าหากมีปริมาณเกิน 50 cc ให้เลื่อนการให้อาหารไปอย่างน้อย 1 ชั่วโมง และค่อยทำการประเมินอีกครั้ง 
  5. การให้อาหารผ่านสายยาง เทอาหารเหลวที่เตรียมไว้ลงในกระบอก โดยหนึ่งครั้งไม่ควรเกิน 50 cc แล้วยกกระบอกให้มีระดับสูงเหนือผู้ป่วยประมาณ 30 cm จากนั้น ค่อย ๆ ปล่อยให้อาหารเคลื่อนตัวเข้าสู่สายยางอย่างช้า ๆ หรือกรณีใช้เครื่องให้อาหารทางสายยาง เครื่องจะค่อย ๆ ทำงานไปตามกลไก
  6. ทำความสะอาดผู้ป่วยหลังการให้อาหารผ่านสายยาง ให้น้ำตามหลังประมาณ 25-50 ml หลังจากที่ให้อาหารผ่านสายยางเสร็จเรียบร้อย เพื่อป้องกันอาหารค้างในสายยาง พร้อมทำความสะอาดช่องปากของผู้ป่วยทั้งก่อนให้อาหาร, หลังให้อาหาร และตอนก่อนนอนอยู่เสมอ โดยการจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนตะแคงกึ่งนั่ง และทำการแปรงฟันให้สะอาดโดยใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์
  7. ทำความสะอาดอุปกรณ์หลังการให้อาหารผ่านสายยาง เก็บสายยางและอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมเช็ดทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์

 

การให้อาหารทางสายยาง

ที่ My Luck Nursing Home มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลผู้ป่วยติดเตียง

ข้อควรระวังในการให้อาหารทางสายยาง

  • ระวังการสำลัก

ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการไอ ให้หยุดให้อาหารทันที และพักการให้อาหารจนกว่าผู้ป่วยจะหยุดไอจึงค่อยให้อาหารทางสายยางต่อ แต่ถ้าหากผู้ป่วยสำลัก ให้หยุดให้อาหารทันทีเช่นกัน และรีบจัดผู้ป่วยให้นอนตะแคงหน้าไปในทางใดทางหนึ่ง และทำการดูดอาหารที่สำลักออกมาให้หมด

  • ระวังอาหารไหลย้อนกลับ

หลังจากให้อาหารเสร็จแล้ว ควรให้คนไข้อยู่ในท่านั่งพักประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้อาหารไหลย้อนกลับออกมา

  • ระวังสายยางหลุดจากกระเพาะ

หากสายยางเลื่อนหลุดออกจากตำแหน่ง และไม่ได้อยู่ในกระเพาะอาหาร ควรรีบพาผู้ป่วยไปหาแพทย์ อย่าทำการต่อสายยางด้วยตัวเอง

  • ให้อาหารทางสายยาง อาหารไม่ลง

หากอาหารเหลว มีความหนืดข้นมากเกินไป อาจจะทำให้เป็นอุปสรรคในการไหลได้ ฉะนั้นควรมีการเตรียมอาหารตามสูตรโดยพอดี

(อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ข้อควรระวังในการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย)

เพราะอาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อร่างการ ผู้ป่วยติดเตียงเองก็ต้องการสารอาหารเหล่านี้เช่นกัน การให้อาหารทางสายยางที่ถูกต้องจึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ผู้ดูแลสามารถช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยติดเตียงได้ แต่ถ้าหากผู้ดูแลอาจไม่สะดวกในการป้อนอาหารหรือไม่มีเวลาดูแล แนะนำให้พาผู้ป่วยติดเตียงเข้ารักษาตัวที่ศูนย์ดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ได้อยู่ในการดูแลรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

Social Share

โทรหาเรา

02-0019720 , 084-1612333 , 081-6573328

อีเมลหาเรา

ที่อยู่

Myluck Nursing home (มายลักษณ์เนอร์สซิ่งโฮม)
สาขาบางมด: 16 ซ.ประชาอุทิศ 45 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
สาขาบางกรวย: 99/10 สินธราซอย 3 ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี 11130
https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=euq6746d