ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน จะจัดห้องผู้ป่วยติดเตียงยังไงดี? My Luck มีคำตอบ

450 views | 5 เดือนที่แล้ว

ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน จะจัดห้องผู้ป่วยติดเตียงยังไงดี? My Luck มีคำตอบ

สำหรับท่านที่กำลังอ่านบทความนี้ หลายท่านอาจกำลังดูแลผู้ป่วยติดเตียงอยู่ หรืออาจกำลังมองหาวิธีการเตรียมตัวเพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียงอยู่ วันนี้ Myluck Nursing Home มีบทความดี ๆ มาฝากกัน

ผู้ป่วยติดเตียง คือผู้ป่วยแบบไหน

ผู้ป่วยติดเตียง คือ ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย ร่างกายเสื่อมโทรม เป็นได้ทั้งผู้ที่ไม่ได้รู้สึกตัวแล้ว และผู้ที่ยังรู้สึกตัวอยู่ อาจสามารถขยับตัวได้เล็กน้อย แต่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองในเรื่องอื่น ๆ ได้ เช่น ไม่สามารถลุกไปเข้าห้องน้ำเพื่อขับถ่าย, ไม่สามารถนั่งทานอาหารหรือตักอาหารเองได้ ผู้ป่วยจึงต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา

การเป็นผู้ป่วยติดเตียง สามารถเกิดได้กับทุกวัย ซึ่งสาเหตุของการทำให้ต้องป่วยติดเตียง อาจเกิดได้จากทั้ง โรคภัยไข้เจ็บ อาทิ โรคหลอดเลือดในสมอง, อัมพฤกษ์ อัมพาต, โรคพาร์กินสัน, อาการกล้ามเนื้อลีบ เป็นต้น หรืออาจเกิดจากการประสบอุบัติเหตุร้ายแรง ได้เช่นกัน

ผู้ป่วยติดเตียง มีกี่ประเภท

ผู้ป่วยติดเตียง มี 2 ประเภทใหญ่ แบ่งตามการรู้สึกตัวของผู้ป่วย ได้แก่

  1. ผู้ป่วยติดเตียงที่รู้สึกตัวอยู่ แต่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

ผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะยังสามารถขยับร่างกายในบางส่วนได้ เช่น บางรายอาจพลิกตัวได้, บางรายอาจลุกนั่งได้ แต่ยังเดินไม่ได้ หรือบางรายอาจทานข้าวด้วยตัวเองได้อยู่ ผู้ป่วยติดเตียงในกลุ่มนี้จึงอาจต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่บ้าง ในการทำกิจกรรมบางอย่าง

  1. ผู้ป่วยติดเตียงที่สูญเสียการรู้สึกตัว

ผู้ป่วยในกลุ่มนี้จะต้องนอนติดเตียงโดยสมบูรณ์ เช่น ในรายที่ไม่สามารถตื่นมาพูดคุยสื่อสารได้ หรือที่เราเรียกว่า กลายเป็นเจ้าชายนิทรา/เจ้าหญิงนิทรา หรือ ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต ไม่สามารถขยับร่างกายได้ ดังนั้น ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ จะต้องมีบุคลากรทางการแพทย์คอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อประคองและรักษาอาการดังกล่าว

 

ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน จะจัดห้องผู้ป่วยติดเตียงยังไงดี? My Luck มีคำตอบ

ผู้ป่วยติดเตียงบางราย ยังสามารถลุกนั่ง ขยับร่างกายได้

อาการผู้ป่วยติดเตียง

สำหรับอาการผู้ป่วยติดเตียง อย่างที่เราได้ทราบกันไปแล้วว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะไม่สามารถลุกเดินไปทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันแบบปกติได้ จะต้องนอนติดเตียงแทบจะตลอดเวลา และนอกจากอาการป่วยที่ทำให้เป็นต้นเหตุของการที่ต้องนอนอยู่แค่กับเตียงแล้วนั้น ผู้ป่วยติดเตียงยังอาจต้องเผชิญกับผลกระทบทางจิตใจ และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดตามมาได้อีกด้วย

ด้านสภาวะจิตใจของผู้ป่วยติดเตียง

จากภาวะที่ผู้ป่วยติดเตียงต้องเผชิญ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่อาจจะต้องเกิดความเครียด, ความวิตกกังวล และอาจหมดกำลังใจ ฉะนั้น ผู้ดูแลต้องคอยให้กำลังใจและเสริมสร้างสุขภาพจิตให้แก่ผู้ป่วยติดเตียง เพื่อเป็นอีกแรงใจสำคัญ ให้ผู้ป่วยติดเตียงได้มีกำลังใจในการรักษาตัว

ด้านร่างกาย กับภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยติดเตียง

การที่ร่างกายต้องนอนติดกับเตียงเป็นเวลานาน ทำให้ร่างกายไม่ได้ใช้การตามที่ควรจะเป็น จนอาจเกิดผลข้างเคียงตามมาหรือภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ โดยภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยติดเตียงที่อาจเกิดได้นั้น ได้แก่

  1. การเกิดแผลกดทับ
  2. ปอดติดเชื้อ
  3. ติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ
  4. ท้องผูก
  5. ข้อยึดติด

(ท่านที่อยากอ่านรายละเอียดเรื่องภาวะแทรกซ้อน สามารถกดอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ภาวะแทรกซ้อนที่ควรระวังในการดูแลผู้ป่วยติดเตียง)

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน

สำหรับท่านที่มีการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอยู่ที่บ้านอยู่ หรือกำลังเตรียมพร้อมในการจัดเตรียมสถานที่ ลองมาดูคำแนะนำกันได้เลย

การจัดห้องผู้ป่วยติดเตียง

เพราะห้องของผู้ป่วยติดเตียง จะเป็นพื้นที่หลักในการใช้ชีวิตของตัวผู้ป่วยติดเตียงเอง รวมทั้งของผู้ดูแลด้วย ฉะนั้น เพื่อการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอย่างสะดวกและมีความน่าอยู่ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยในการรักษา และเป็นกำลังใจให้กับผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแล

การจัดห้องนอนสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

  1. ควรให้ห้องนอนของผู้ป่วยติดเตียงอยู่ในชั้น 1 เพื่อสะดวกต่อการเคลื่อนย้าย เช่น กรณีต้องนำส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาล
  2. จัดให้ห้องนอนอยู่ในบริเวณที่เงียบสงบ มีอากาศถ่ายเทสะดวก แสงสว่างเพียงพอ และไม่มีมลภาวะรบกวน (เช่น เสียงดัง หรือ ฝุ่นควัน)
  3. ที่นอนของผู้ป่วย ควรเป็นที่นอนที่ไม่นุ่มหรือแข็งเกินไป
  4. ควรมีตู้เก็บยาอยู่ภายในห้องผู้ป่วย เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บ
  5. ตกแต่งห้องนอน ด้วยโทนสีเย็น โทนสีอ่อน เพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย

 

ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน จะจัดห้องผู้ป่วยติดเตียงยังไงดี? My Luck มีคำตอบ

ตัวอย่าง โทนสีห้องนอนของผู้ป่วยติดเตียง ที่มีความสว่าง และจัดพื้นที่โล่ง สะดวกในการเคลื่อนย้าย

การจัดห้องน้ำสำหรับผู้ป่วยติดเตียง

  1. ควรเลือกพื้นห้องน้ำที่เป็นแบบไม่ลื่น หรือถ้าหากไม่สามารถเปลี่ยนได้ ให้หาแผ่นกันลื่นมาช่วยเสริม
  2. ควรติดตั้งราวจับไว้ในระดับเดียวกับผู้ป่วย ในพื้นที่มุมอาบน้ำ
  3. ไม่ควรมีสิ่งของกีดขวางทางเดิน
  4. เลือกใช้ประตูที่สะดวกในการเปิด-ปิด เพื่อสะดวกในการเข้าใช้งานและสะดวกต่อผู้ดูแลในการเข้าช่วยเหลือ

ดูแลผู้ป่วยติดเตียงคนเดียว เครียด … ทำยังไงดี?

นอกจากสุขภาพจิตของผู้ป่วยติดเตียงที่อาจเกิดความเครียดแล้วนั้น สุขภาพจิตของผู้ดูแลเอง ก็อาจประสบกับภาวะเครียดได้เช่นกัน ฉะนั้น เพื่อเป็นการหาทางแก้ไข แนะนำให้ผู้ดูแลลองทำตามนี้ เพื่อปรับสภาพจิตใจให้มีกำลังใจมากขึ้น

  1. แบ่งเวลาให้ตัวเองบ้าง

หาเวลาพักผ่อน ผ่อนคลาย ด้วยการแบ่งเวลาไปทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบ เพื่อลดความเครียดจากการดูแลผู้ป่วยติดเตียง

  1. หาที่พูดคุย หรือปรึกษา

ในโลก Social Media เอง ก็มีกลุ่มที่มีคนกำลังเผชิญปัญหาคล้ายกับเรา อาจลองใช้เป็นช่องทางในการระบาย หรือปรึกษาแนวทางการรับมือ เพื่อให้ได้ความเห็นที่หลากหลาย และอาจนำมาปรับใช้ได้ หรือหากอยากปรึกษาเรื่องสภาพจิตใจ ก็สามารถติดต่อที่เบอร์ 1667 ของกรมสุขภาพจิตได้เช่นกัน

  1. พูดคุยกับคนในครอบครัว

ให้ร่วมกันหาทางออก และเผื่อจัดสลับผู้ดูแล เพื่อไม่ให้ใครคนใดคนหนึ่งต้องรับภาวะความเครียดสะสมมากจนเกินไป

  1. หาผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาช่วยดูแล

หากพอมีกำลัง แนะนำให้หาบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียง เพื่อจะได้ลดความเครียดของญาติผู้ดูแล และให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถดูแลได้อย่างถูกวิธี

 

ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน จะจัดห้องผู้ป่วยติดเตียงยังไงดี? My Luck มีคำตอบ

ดูแลผู้ป่วย โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

My Luck Nursing Home ผู้ช่วยดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้คุณ

หากท่านผู้อ่าน กำลังมองหาสถานที่ดูแลให้กับผู้ป่วยติดเตียงอยู่ สามารถลองเข้ามาเยี่ยมชม มายลักษณ์ เนอร์สซิ่งโฮม ของเราได้ เราเป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ดูแลผู้ป่วย ที่มีบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งทีมแพทย์, ทีมพยาบาล และผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้สูงอายุ เพียบพร้อมด้วยเครื่องมือ และสถานที่ที่ออกแบบมาเพื่อการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยโดยเฉพาะ

✔️ ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

✔️ มีทีมแพทย์ ทีมพยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ที่เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย

✔️ ใส่ใจ ในการดูแลความเป็นอยู่ และอาหารการกินให้กับผู้สูงอายุและผู้ป่วย

การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน จะต้องมีการตัดเตรียมความพร้อมของทั้งห้องนอน และห้องน้ำ เพื่อให้การดูแลเป็นไปสะดวกมากขึ้น และนอกจากการดูแลในด้านสภาพร่างกายแล้ว ควรต้องไม่ลืมที่จะดูแลสภาพจิตใจของทั้งผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแลด้วย หรือถ้าหากทางญาติผู้ป่วยไม่สะดวกในการดูแลด้วยตัวเอง ก็สามารถปรึกษากับศูนย์ดูแลได้เช่นกัน เพื่อให้อยู่อยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้ง ช่วยลดความเครียดที่อาจเกิดขึ้นได้

หากท่านใดอยากปรึกษาเรื่องการดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยติดเตียง สามารถสอบถามได้ที่ @mylucknursinghome

 

Social Share

โทรหาเรา

02-0019720 , 084-1612333 , 081-6573328

อีเมลหาเรา

ที่อยู่

Myluck Nursing home (มายลักษณ์เนอร์สซิ่งโฮม)
สาขาบางมด: 16 ซ.ประชาอุทิศ 45 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
สาขาบางกรวย: 99/10 สินธราซอย 3 ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี 11130
https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=euq6746d