การป้องกันและวิธีรักษาแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง

734 views | 1 ปีที่แล้ว

การป้องกันและวิธีรักษาแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง

ปัญหาที่พบได้บ่อยในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงคือ แผลกดทับ เพราะหากมองข้ามรอยถลอกเล็กน้อยเหล่านี้อาจจะทำให้เป็นแผลเรื้อรังจนทำให้เนื้อตายได้ ซึ่งแผลกดทับนั้นเป็นสิ่งที่ผู้ดูแลต้องหมั่นสังเกตร่างกายของผู้ป่วย เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกาย 

การป้องกันและวิธีรักษาแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นแผลกดทับ

  • ผู้ป่วยนอนติดเตียงตลอดเวลา ไม่มีการเคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนท่านอน
  • ผิวหนังบาง ผอม ขาดสารอาหาร
  •  ไม่สามารถควบคุมการปัสสาวะ อุจจาระของตนเองได้ จึงทำให้เกิดการอับชื้นบริเวณนั้น
  • อายุที่เพิ่มขึ้น
  • การรับรู้ความรู้สึกน้อยลง
  • การใช้อุปกรณ์ช่วยหายใจ อุปกรณ์ทางการพยาบาลต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการอับชื้นและการเสียดสีในผู้ป่วย

ปัจจัยต่าง ๆ ในข้างต้นล้วนสัมพันธ์กัน ผู้ดูแลจึงต้องหมั่นสังเกตบาดแผลบนร่างกายของผู้ป่วย

วิธีการป้องกัน

1. หมั่นพลิกตัวผู้ป่วยเพื่อเปลี่ยนท่านอน ทุก ๆ 2 ชั่วโมง

2. มีหมอนรองตรงกลางระหว้างเข่าทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันการกดทับ เสียดสีของผิวหนัง 

3. ดูแลที่นอนให้สะอาดเสมอ เพราะความชื้นจะเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรีย ไรฝุ่น ซึ่งจะก่อให้เกิดความระคายเคืองในผู้ป่วย

4. รักษาความสะอาดของร่างกายผู้ป่วย หลังปัสสาวะ อุจจาระควรทำความสะอาดโดยเช็ดจากหน้าไปหลัง และควรมีผ้ารองเมื่อต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีค่า Ph เป็นกลาง หรือล้างด้วยน้ำเปล่า 

5. มีการกายภาพขั้นพื้นฐาน เพื่อขยับร่างกาย ข้อต่อ ต่าง ๆ 

6. ดูแลเรื่องอาหารให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารจำพวกโปรตีน วิตามิน ธาตุเหล็ก เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อและสร้างเซลล์ผิวใหม่

การป้องกันและวิธีรักษาแผลกดทับในผู้ป่วยติดเตียง

วิธีการรักษา

1. ลดแรงกดทับด้วยการใช้หมอน ผ้าพับ เพื่อลดการเสียดสีของปุ่มกระดูก ในบริเวณต่าง ๆ อาทิ ข้อเข่าทั้งสองข้าง หมอนรองหลัง หมอนรองขาเพื่อยกส้นเท้าให้สูงขึ้นจากเตียงงนอน

2. ในกรณีที่เกิดแผลขึ้นแล้ว ให้ดูแลแผลด้วยการพิจารณาจากลักษณะแผล 

  • หากมีรอยถลอกเป็นขุยให้เพิ่มความชุ่มชื้นด้วยวาสลีนหรือผลิตภัณฑ์ที่ให้ความชุ่มชื้นตามแพทย์สั่ง
  • หากแผลมีน้ำเหลืองเยอะให้ใช้วัสดุที่ซับน้ำได้ดี ซับน้ำจากแผลและระวังแมลงตัวเล็กมาตอมแผล เพราะอาจติดเชื้อได้
  •  ควรเลือกวัสดุซับแผลที่ไม่ติดแผล เพื่อลดแรงเสียดสี หากใช้สำลีบางชนิดซับอาจทำให้เศษสำลีติดในแผล

3. ในกรณีที่เป็นแผลกดทับชนิดที่ประเมินระดับไม่ได้ มีเนื้อตายเยอะ แพทย์จะตัดเนื้อตายออกและดูแลรักษาตามความเหมาะสมของร่างกายผู้ป่วย

จะเห็นได้ว่าปัญหาแผลกดทับเป็นเรื่องที่เกิดจากรอยถลอกเล็กน้อยแต่สามารถลุกลามเป็นแผลเรื้อรังได้ ดังนั้นผู้ดูแลจึงต้องเอาใจใส่และติดตามผลอย่างใกล้ชิด มายลักษณ์เนิร์สซิ่งโฮมจึงมีมาตรการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชั่งโมง ดูแลการพลิกตัวของผู้ป่วยทุก ๆ 2 ชั่วโมง และมีการกายภาพบบำบัด มีกิจกรรมสันทนาการเพื่อสุขภาวะทางจิตใจของผู้ป่วย อีกทั้งยังมีการดูแลโภชนาการทางอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละท่าน ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ 

 

Social Share

โทรหาเรา

02-0019720 , 084-1612333 , 081-6573328

อีเมลหาเรา

ที่อยู่

Myluck Nursing home (มายลักษณ์เนอร์สซิ่งโฮม)
สาขาบางมด: 16 ซ.ประชาอุทิศ 45 ถ.ประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
สาขาบางกรวย: 99/10 สินธราซอย 3 ต.บางสีทอง อ.บางกรวย นนทบุรี 11130
https://liff.line.me/1645278921-kWRPP32q/?accountId=euq6746d